GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
ผลการค้นหา : "Line Today"
โคจิม่าเผย Death Stranding เป็นเกมที่ต้องใช้เวลาเล่น เยอะมากๆ กว่าจะจบเนื้อเรื่อง
อีกประมาณเดือนเดียวเท่านั้นก่อนที่เหล่าเกมเมอร์ทั่วโลกจะได้สัมผัสกับ Death Stranding ผลงาน PS4 Exclusive ใหม่ล่าสุดจากผู้พัฒนาระดับเทพอย่าง Hideo Kojima (ฮิเดโอะ โคจิม่า) โดยผู้พัฒนาเองก็เริ่มออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับเกมสุดพิศวงนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เดโมเกมเพลย์ความยาวเกือบ 50 นาทีที่เปิดให้ชมกันในงาน Tokyo Game Show 2019 ที่ผ่านมา ไปจนถึงบทสัมภาษณ์มากมายที่ออกมาให้อ่านกันแทบจะทุกวันเลยทีเดียว แต่แม้ว่าคุณโคจิม่าจะออกมาเปิดเผยข้อมูลจนผู้เล่นเริ่มเห็นภาพมากขึ้นว่าเกมจะเกี่ยวกับอะไร เล่นยังไง แต่สิ่งหนึ่งที่ยังไม่มีคำตอบคือความยาวของเนื้อเรื่องเกมว่าการจะผ่านเนื้อเรื่องจนจบจะต้องใช้เวลาเท่าไหร่กันแน่ กระทั่งคุณโคจิม่าเองก็ยังกั๊กคำตอบนี้อยู่ เมื่อล่าสุดผู้พัฒนาได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อ DTR ของประเทศรัซเซียเพียงว่าเกม Death Stranding จะใช้เวลา เยอะมากๆ ในการเล่นให้จบ (อ้างอิงข้อมูลที่แปลมาเป็นภาษาอังกฤษในเว็บ Reddit) แม้ว่าคำตอบของคุณโคจิม่าจะยังคลุมเครืออยู่มาก (เหมือนรายละเอียดเกี่ยวกับเกมหลายๆ อย่าง...) แต่ถ้าลองวัดจากเกมที่ผ่านๆ มาของคุณโคจิม่าอย่างเกม Metal Gear Solid V: The Phantom Pain ก็ใช้เวลาเฉลี่ยในการเล่นให้จบอยู่ที่ประมาณ 45 ชั่วโมง (อิงจากเว็บ howlongtobeat.com) เชื่อว่า Death Stranding เองก็คงไม่น้อยไปกว่ากันนัก น่าจะอยู่ที่ราวๆ 40-50 ชั่วโมงในการจบเนื้อเรื่อง Death Stranding จะวางจำหน่ายในวันที่ 8 พฤษจิกายนนี้สำหรับ PS4 โดยเฉพาะ ติดตามข่าวสารเกมต่างๆ ได้ที่
08 Oct 2019
Marvels Avengers เปิดเผยความยาวเนื้อเรื่องแล้ว
แม้จะยังต้องรอกันไปอีกพักใหญ่กว่าจะได้ลองเล่นเกม Marvels Avengers กันจริงๆ แต่หนึ่งในคำถามที่เหล่าเกมเมอร์ผู้รอเล่นเกมอยู่ต้องการคำตอบมากที่สุดก็คือความยาวของเกมว่าจะมีเนื้อหาให้เล่นกันเท่าไหร่กันแน่ แม้ว่าผู้พัฒนาจะเคยออกมาประกาศแล้วว่าจะทำการเพิ่มเนื้อหาต่างๆ ทั้งภารกิจ ด่าน และตัวละครใหม่ๆ เข้าไปในเกมแบบฟรีๆ เป็นประจำแล้ว แต่ก็ยังไม่เคยกล่าวชัดเจนว่าเกมจะมีเนื้อหามากน้อยเพียงใดในช่วงที่วางจำหน่ายใหม่ๆ ล่าสุด ดูเหมือนว่าเราจะได้คำตอบกันแล้ว เมื่อผู้บริหารแบรนด์อาวุโส (Senior Brand Director) ของค่ายพัฒนา Crystal Dynamics คุณ Rich Briggs เปิดเผยในบทสัมภาษณ์กับเว็บ comicbooks.com ว่าเกม Marvels Avengers จะใช้เวลาในการเล่นเนื้อเรื่องราวๆ 10-12 ชั่วโมง ซึ่งจะใกล้เคียงกับเกมที่ผ่านๆ มาของค่ายอย่างเกมซีรี่ส์ Tomb Raider หลายๆ ภาคที่ผ่านมานั่นเอง ในส่วนของเนื้อหาเสริมต่างๆ นั้น ทางคุณ Rich เปิดเผยว่าค่ายตั้งเป้าไว้ใกล้เคียงกับเกมซีรี่ส์อื่นๆ ของค่ายเช่นกัน ซึ่งหมายความว่าการจะเล่นเนื้อหาทั้งหมดของเกม Marvels Avengers น่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 30 ชั่วโมง "ถ้าคุณอยากจะสัมผัสทุกอย่างในเกม ตั้งแต่การเล่นภารกิจเสริมทั้งหมดไปจนถึงกิจกรรมย่อยๆ อื่นๆ คุณน่าจะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 30 ชั่วโมงเหมือนกับเกม Tomb Raider นั่นแหละ พูดง่ายๆ คือเราคงยังไม่สามารถพูดได้ชัดเจนนักว่าเกมจะใช้เวลาประมาณเท่าไหร่กันแน่ แต่ก็คาดหวังไว้ได้เลยว่าเราจะมีเนื้อหาไม่น้อยไปกว่าเกมอื่นๆ ที่ค่ายเคยพัฒนามา และแน่นอนว่าเรายังมีเนื้อเรื่องและเนื้อหาเสริมอีกมากมายที่วางแผนเอาไว้ รวมไปถึงฮีโร่ใหม่ๆ ที่จะถูกเพื่มเข้าไปหลังจากเกมวางจำหน่ายด้วย" ถ้าให้ว่ากันตามตรง เวลาเพียง 10-12 ชั่วโมง หรือกระทั่งเวลา 30 ชั่วโมงถือว่าไม่ยาวเลยสำหรับเกมแนว Action RPG (อาจจะค่อนไปทางสั้นด้วยซ้ำ) ซึ่งถ้าสุดท้ายกิจกรรมเสริมต่างๆ ของเกมมีคุณภาพไม่ดีหรือไม่สนุกก็อาจจะทำให้ผู้เล่นรู้สึกว่าเกมมีเนื้อหาน้อยได้เช่นกัน คงต้องรอดูกันต่อไปด้วยว่าเนื้อหาเสริมที่ผู้พัฒนาจะเพิ่มเข้าไปฟรีๆ นั้นจะช่วยยืดเวลาชีวิตของเกมออกไปได้มากน้อยแค่ไหน Marvels Avengers จะวางจำหน่ายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2020 สำหรับ PS4, Xbox One, PC และ Google Stadia  
07 Oct 2019
Death Stranding เปิดตัวชุด Limited PS4 Pro Bundle สุดคูล วางจำหน่ายพร้อมเกมพฤษจิกายนนี้
แม้จะไม่ได้มีเกมเพลย์ใหม่ๆ มาโชว์ในไลฟ์สตรีม State of Play ครั้งล่าสุด (น่าจะเพราะโชว์หมดเปลือกไปแล้วในงาน Tokyo Game Show 2019 ที่ผ่านมา) แต่อย่างน้อย Death Stranding ก็ไม่ได้มามือเปล่า โดยผู้พัฒนา Kojima Productions ได้ถือโอกาสนี้เปิดตัวเครื่อง PS4 Pro รุ่น Limited Edition Bundle ของเกม ซึ่งจะวางจำหน่ายพร้อมเกมในวันที่ 8 พฤษจิกายนนี้ นอกจากจะได้เครื่อง PS4 Pro สีขาวดำลายพิเศษแล้ว ชุดยังจะมาพร้อมกับจอย Dual Shock 4 กรอบใสสีเหลืองที่ให้ลุคสุดคลาสสิค เหมือนจอยเกมสมัย PS1-PS2 อะไรอย่างงั้น ในขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่าเครื่องจะวางจำหน่ายในราคาเท่าไหร่ แต่คาดว่าน่าจะไม่ต่างจากราคาของเครื่องรุ่นพิเศษที่ผ่านๆ มา โดยเราจะทำการอัพเดทราคาเมื่อได้รับข้อมูลที่แน่นอนอีกครั้ง ติดตามข่าวสารเกมต่างๆ ได้ที่
24 Sep 2019
Review: รีวิวเกม Borderlands 3 "การกลับมาของตัวพ่อเกม Shooting-RPG"
แนวเกม: Shooter-Looter (FPS/RPG) ผู้พัฒนา: Gearbox Software ผู้จัดจำหน่าย: 2K Games เวลาที่ใช้เล่น: ประมาณ 30 กว่าชั่วโมง (จบเนื้อเรื่อง) แพลตฟอร์ม: PS4, Xbox One, PC (Epic Games store) รีวิวใน PS4 Pro ถ้าจะให้พูดถึงแนวเกมเกมแนว Shooter-Looter หรือเกมยิงปืน (ทั้งแบบ FPS และบุคคลที่สาม) ที่ผสมผสานองค์ประกอบของเกม RPG เข้าไปด้วย ถือเป็นแนวเกมลูกผสมที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในยุคคอนโซลปัจจุบันนี้ ตั้งแต่เกมอย่าง Destiny, Anthem, The Division, Warframe, หรือเกมที่กำลังจะออกอย่าง Ghost Recon: Breakpoint ต่างก็จัดอยู่ในเกมแนว Shooter-Looter ทั้งสิ้น และทุกเกมก็เป็นเกมที่มีคนจับตามองอย่างใกล้ชิดตลอดการพัฒนา (แต่วางจำหน่ายมาแล้วรุ่งหรือร่วงอีกเรื่องหนึ่ง...) อีกหนึ่งเกมแนว Shooter-Looter ที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยในฐานะผู้ให้กำเนิด (หรืออย่างน้อยก็เป็นเกมที่ทำให้แนวนี้ฮิตขึ้นมา) ซึ่งก็คือเกมซีรี่ส์ Borderlands ที่วางจำหน่ายครั้งแรกตั้งแต่ปี 2009 โดยนำเกมเพลย์แบบชู้ตติ้งบุคคลที่ 1 (FPS) มาผนวกเข้ากับระบบการพัฒนาตัวละครและไอเทมของเกม RPG จนทำให้เกมกลายเป็นซีรี่ส์ในดวงใจของคนหลายๆ คนตลอดหลายปีที่ผ่านมา จนขนาดเกมภาคต่อ Borderlands 2 (วางจำหน่ายเมื่อปี 2012) ยังคงมียอดผู้เล่นหลายล้านคนจวบจนถึงทุกวันนี้ หลังจากที่เว้นช่วงให้คิดถึงไปหลายปี ในที่สุดเกมเมอร์ทั่วโลกก็จะได้มีโอกาสหวนคืนสู่ดาว Pandora อีกครั้งกับเกม Borderlands 3 ที่เพิ่งวางจำหน่ายไปเมื่อวันที่ 13 กันยายนที่ผ่านมา ที่กลับมาพร้อมกับองค์ประกอบด้านกราฟฟิคลายการ์ตูน Cel-Shade อันเป็นเอกลักษณ์ และเกมเพลย์แบบคลาสสิคที่สามารถรักษาจิตวิญญาณดั้งเดิมของซีรี่ส์เอาไว้พร้อมๆ กับการปรับปรุงรายละเอียดเกมเพลย์ให้ทันสมัยขึ้น ซึ่งน่าจะตอบโจทย์แฟนๆ ดั้งเดิมของซีรี่ส์ที่เฝ้ารอมาตลอดได้เป็นอย่างดี ◊ เนื้อเรื่อง ◊ สำหรับเนื้อเรื่องของเกม Borderlands 3 จะเกิดขึ้น 5 ปีหลังจากการตายของตัวร้าย Handsome Jack (แจ๊คหน้าหล่อ) จากเกมภาคที่แล้ว โดยผู้เล่นจะสามารถเลือกรับบทเป็นนักล่าสมบัติ (Vault Hunter) หน้าใหม่ทั้งหมด 4 ตัวเพื่อร่วมมือกับกลุ่มนักสู้ Crimson Raiders ที่นำโดยตัวละครอดีตนักล่าสมบัติจากเกมภาคแรก Lilith เพื่อต่อกรกับสองคู่หูฝาแฝดผู้ชั่วร้าย Calypso Twins และเหล่าลูกสมุนนับล้านจากกลุ่ม Children of the Vault และยับยั้งแผนในการยึดครองจักรวาลของทั้งสองคนนั่นเอง แม้ว่าอาจจะไม่ใช่องค์ประกอบที่ผู้เล่นเกม Borderlands จะคิดถึงเป็นอย่างแรกเมื่อพูดถึงจุดเด่นของเกม แต่เนื้อเรื่องในเกม Borderlands 3 ก็ยังถือเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มสีสันให้กับเกมได้เป็นอย่างดี ด้วยบทอันยียวนกวนประสาทของเกมที่ปล่อยมุกตลกตลอดเวลา ไปจนถึงเหล่าตัวละครทั้งเก่าและใหม่ที่วนเวียนกันเข้ามาสร้างความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ อยู่เรื่อยๆ ทำให้การเล่นผ่านเควสเนื้อเรื่องที่มีอยู่มากมายของเกมผ่านไปได้อย่างรวดเร็วกว่าที่คิดไว้ อย่างผู้เขียนใช้เวลาเล่นจนจบเนื้อเรื่อง (เล่นเควสเสริมน้อยมาก) ยังใช้เวลาไปเกือบ 35 ชั่วโมง แต่กลับไม่ได้รู้สึกว่านานเลยซักนิดเดียว ยังสามารถเล่นต่่อไปได้เรื่อยๆ เพราะอยากเห็นว่าเกมจะมีตัวละครเพี้ยนๆ แปลกๆ อะไรออกมาให้เราเจออีก ที่น่าชมอีกอย่างคือเนื้อเรื่องของภารกิจเสริมหลายๆ อัน ที่มีความละเอียดและต่อเนื่องไม่ต่างกับภารกิจเนื้อเรื่องเลยด้วย แม้จะไม่ใช่ภารกิจเสริมทั้งหมดที่จะมีคุณภาพดีขนาดนั้น แต่ก็ยังมีอีกหลายภารกิจที่สนุกไม่แพ้เนื้อเรื่องหลัก แถมภารกิจส่วนใหญ่ยังมีวิธีการผ่านที่ค่อนข้างแตกต่างกัน (ไม่ได้แค่ให้ ฆ่ามอน 5 ตัว หรือ เก็บของ 5 ชิ้น) หรือบางอันอาจจะมีเงื่อนไขในการผ่านที่แปลกแหกวแนวในแบบที่เราคาดไม่ถึง ทำให้แม้จะทำไปเยอะแค่ไหนก็ยังรู้สึกว่ามีอะไรใหม่ๆ มาให้ตื่นเต้นหรือตลกไปกับมันแทบจะตลอดเวลาเลย แต่ในขณะเดียวกันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยความที่เกมเป็นภาคต่อ รวมไปถึงความยาวของเนื้อเรื่องและรูปแบบการดำเนินเรื่องที่ค่อนข้างช้า (เมื่อเทียบกับเกมทั่วไป) อาจจะทำให้ผู้เล่นที่ไม่ได้อินกับเนื้อเรื่องหรือตัวละครของเกมภาคเก่าๆ มาก่อนรู้สึกงงกับเนื้อเรื่องหรือมุกล้อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรืออาจจะหงุดหงิดกับการดำเนินเรื่องอยู่บ้าง แต่ถ้าไม่ได้คาดหวังจะได้รับประสบการณ์เนื้อเรื่องแบบจริงจังอย่างในเกมเนื้อเรื่องทั่วๆ ไป ก็น่าจะยังหาความบันเทิงกับมุกตลกหรือตัวละครกาวๆ อันเป็นเอกลักษณ์ของซีรี่ส์ได้อยู่ ◊ กราฟิก / การนำเสนอ ◊ แม้ว่าเกม Borderlands 3 จะไม่ได้ใช้กราฟฟิคที่สวยสมจริงเหมือนเกมหลายๆ เกม แต่คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่าภาพกราฟฟิคลายการ์ตูน Cel-Shade ของเกมนั้นไม่สวย โดยเฉพาะในเกม Borderlands 3 นี้ ที่ผสมผสานกราฟฟิคอันเป็นเอกลักษณ์ของเกมเข้ากับเทคนิคการแสดงผลแสงและเงาที่ทันสมัย ทำให้สิ่งแวดล้อมของเกม Borderlands 3 มีมิติกว่าทุกครั้ง ซึ่งทำให้การสำรวจแผนที่สนุกกว่าเดิมขึ้นไปอีกขั้น เป็นผลดีมากในภาพรวมเพราะเกม Borderlands มักจะบังคับให้ผู้เล่นจำเป็นต้องเดินทางไปๆ กลับๆ ในแผนที่เดิมหลายต่อหลายครั้งอยู่แล้ว โดยเฉพาะถ้าผู้เล่นอยากจะเก็บภารกิจเสริมที่มีอยู่มากมายในเกม การที่ปรับปรุงสภาพแวดล้อมก็ทำให้การเล่นจุดนี้ไม่น่าเบื่อเหมือนหลายๆ ภาคที่ผ่านมา ที่พัฒนาไปอีกขั้นก็คือกราฟฟิคโมเดลของปืนทุกชนิดในเกม ที่เพิ่มความละเอียดขึ้นมาอย่างมาก ปืนทุกกระบอกจะมีรายละเอียดหรือกลไกเล็กๆ น้อยๆ ที่ขยับอยู่ตลอดเวลา ปืนแต่ละชนิดยังมีกราฟฟิคกระสุนและเสียงยิงที่แตกต่างกัน ขนาดปืนที่หน้าตาคล้ายกันสองกระบอกยังอาจจะยิงกระสุนออกมาเป็นคนละแบบอย่างสิ้นเชิง แถมด้วยจำนวนปืนที่เกมมีให้ลองใช้กันเป็นหลักพันล้านกระบอก ทำให้การได้ปืนมาใหม่ซักกระบอกมีความหมายมากกว่าแค่การพัฒนาความสามารถตัวละคร เพราะแม้จะเล่นไปแล้วเป็นสิบชั่วโมง แต่ผู้เขียนก็ยังตื่นเต้นที่จะได้ลองหยิบปืนกระบอกใหม่ๆ แปลกๆ ขึ้นมาลองใช้ตลอดเวลา ความพิเศษอีกอย่างในเกมภาคใหม่นี้คือการเปิดให้ผู้เล่นสามารถเลือกปรับให้เกมแสดงผลโดยเน้น Resolution (ความคมชัด) หรือ Framerate (เฟรมเรต) ได้ด้วย การเลือกโหมด Resolution จะทำให้เกมเน้นแสดงภาพพื้นผิวและแสง/เงาในระดับ 4K แต่จะล๊อคเฟรมเรตไว้ที่ 30FPS ส่วนโหมด Framerate จะทำให้เกมลดความคมชัดของกราฟฟิคลง แลกกับการเล่นที่รู้สึกลื่นไหลมากขึ้น สำหรับผู้เขียนรีวิวเกมในเครื่อง PS4 Pro และเลือกโหมด Framerate ทำให้เกมแสดงผลที่ความชัด 1080p 60FPS จากการทดสอบพบว่าการเลือกโหมด Resolution นั้นทำให้ภาพพื้นผิวทั้งหมดในเกมสวยขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ด้วยความที่เกมเองก็ไม่ได้ใช้กราฟฟิคสมจริงเป็นพิเศษด้วยแล้วด้วย เรียกว่าอาจจะใกล้เคียงกับใน PC เลยก็ว่าได้ ในขณะที่การเลือกโหมด Framerate นั้นทำให้ภาพมีความ แบน ลงอย่างชัดเจน ไม่ถึงกับทำให้ภาพไม่สวย แต่ก็ลดความมีมิติลงอย่างชัดเจนเลย แลกมากับการที่เกมปลดล๊อคเฟรมเรตให้ขึ้นไปได้ถึง 60FPS (แม้ว่าเฟรมเรตของเกมมักจะเหวี่ยงไปมาพอสมควรในจังหวะชุลมุน) ทั้งนี้ แม้ว่ากราฟฟิคของเกมในภาพรวมจะถือว่าทำออกมาได้ค่อนข้างดี แต่เกมก็ยังคงมีปัญหาเรื่องเฟรมตกอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะเวลาเล่นออนไลน์ ที่บางครั้งเกมก็จอค้างหรือมืดไปเลยในเวลาที่กำลังบู๊ๆ กันอยู่เพราะเอฟเฟกต์กระสุนอันอลังการของทั้งเราและศัตรู แถมบางครั้งเสียงของเกมก็ชอบตัดไปเอง หรืออาจจะช้าตามภาพไม่ทัน ซึ่งทั้งหมดเป็นปัญหาที่มักจะพบเจอในเกม Borderlands 2 ซึ่งวางจำหน่ายมาแล้วเกือบ 10 ปีด้วย แม้จะเกิดขึ้นบ่อยหรือรุนแรงจนส่งผลเสียกับความสนุกของเกมขนาดนั้นในความเห็นของผู้เขียน แต่ทั้งหมดก็เป็นปัญหาที่น่าจะแก้ไขให้หมดไปได้นานแล้วอยู่ดี ◊ เกมเพลย์ ◊ เช่นเดียวกับในเกมภาคที่ผ่านๆ มา สิ่งแรกที่ผู้เล่นจะต้องทำเมื่อเริ่มเล่นเกม Borderlands 3 ก็คือการเลือกตัวละครนักล่าสมบัติที่เราจะเล่น (จากทั้งหมด 4 ตัว) ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละตัวจะมาพร้อมกับความสามารถและจุดดี-จุดด้อยที่แตกต่างกันไป อย่างตัวละคร Amara ที่มาพร้อมกับความสามารถในการต่อสู้ระยะประชิดและการสร้างความเสียหายแบบ Elemental (ธาตุ) หรือ FL4K ที่สามารถใช้สัตว์เลี้ยงชนิดต่างๆ ควบคู่ไปกับความสามารถสายนักล่าอย่างการล่องหนเพื่อเพิ่มความเสียหายแบบ Critical Damage (ความเสียหายเมื่อยิงจุดอ่อนศัตรู) เป็นต้น แต่ในขณะที่เกมภาคเก่าๆ จะให้นักล่าสมบัติตัวหนึ่งมีความสามารถพิเศษเพียงอย่างเดียว เกมนี้จะทำให้นักล่าสมบัติแต่ละตัวมีความสามารถพิเศษให้เลือกใช้ถึงตัวละ 3 อย่าง เช่นตัวละคร Zane จะมีความสามารถในการเรียกหุ่นโดรนออกมาช่วยโจมตี หรือสร้างเกราะบาเรียเพื่อป้องกันเพื่อนในทีม หรือจะสร้างร่างแยกขึ้นมาหลอกศัตรูก็ได้ ทำให้นักล่าสมบัติแต่ละตัวมีแนวทางในการพัฒนาที่หลากหลายขึ้นกว่าภาคก่อนๆ มาก แถมเกมยังเปิดให้ผู้เล่นสามารถรีเซ็ตความสามารถของตัวละครเพื่อเปลี่ยนสายได้ตลอดเวลาด้วย (ใช้เงินในเกมเพียงน้อยนิด) ถือเป็นข้อปรับปรุงที่ใหญ่หลวงมากๆ สำหรับเกม เพราะการจะเล่นให้จบเนื้อเรื่องซักครั้งต้องใช้เวลาหลายสิบชั่วโมง ทำให้ผู้เล่นสามารถเปลี่ยนแนวการเล่นให้รู้สึกใหม่ได้ตลอดเวลาด้วย นอกจากระบบตัวละครที่พัฒนาแล้ว ยังมีเกมเพลย์การยิงปืนและเคลื่อนเบื้องต้นที่ถูกปรับให้ทันสมัยเทียบเท่ากับเกม FPS ยุคใหม่ด้วย โดยในจุดนี้ผู้เขียนยกให้เป็นข้อปรับปรุงที่ดีที่สุดในเกมภาคใหม่นี้เลย คนที่เคยเล่นเกม Borderlands ภาคเก่าๆ มาก่อนน่าจะรู้ดีว่าระบบการยิงปืนในเกมมักจะมีความลอยๆ หวิวๆ แปลกๆ เมื่อเทียบกับเกม FPS ทั่วไป ซึ่งเป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่งที่ทำให้แฟนๆ เกม FPS ไม่ค่อยชอบเกมภาคเก่าๆ นั่นเอง แต่ในภาคนี้ปัญหาเหล่านั้นได้หมดไปอย่างสิ้นเชิง ปืนทุกกระบอกให้ความรู้สึกเวลายิงที่ดี แม้ว่าความสามารถประจำตัวของปืนเหล่านั้นจะพิศดารแค่ไหนก็ยังรู้สึกดี มีการตอบสนองทุกครั้งที่ลั่นไก การเคลื่อนที่ของตัวละครแม้จะไม่ได้เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนเท่าการยิงปืน แต่ก็เพิ่มความสามารถอย่างการปีนป่ายและการสไลด์ ที่ทำให้การสำรวจแผนที่มีความง่ายและอิสระขึ้นมาเล็กน้อย ในส่วนของระบบปืนนั้น เกม Borderlands 3 ได้เคยโฆษณาเอาไว้อย่างภาคูภูมิว่าเกมจะมีปืนและระเบิดให้เลือกใช้กันได้นับพันล้านชนิด! ซึ่งต้องบอกเลยว่าไม่ได้พูดปากเปล่าแน่นอน จากการเล่นของผู้เขียน พบว่าแม้จะมีปืน/ระเบิดหลายกระบอกที่หน้าตาคล้ายๆ กัน หรือปรับเปลี่ยนแค่เพียงตัวเลขค่าสถานะ แต่ส่วนใหญ่เมื่อนำมาใช้ยิงจริงๆ กลับแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงไปเลย แถมหลายๆ กระบอกยังมีความสามารถกวนๆ อย่างปืนที่มีขางอกออกมาวิ่งไล่ยิงศัตรูด้วยตัวเอง หรือปืนที่จะเพิ่มความรุนแรงเมื่อเรายิงตูดศัตรู หรือกระทั่งปืนที่ยิงแล้วมีเสียงตัวร้ายคอยกวนเราตลอดเวลา ทำให้การได้ปืนใหม่ๆ ในเกมเป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นทุกครั้งแม้จะมีปืนผ่านมือกี่กระบอกก็ตาม โดยเฉพาะปืนระดับตำนานหรือ Legendary (สีเหลือง) ซึ่งมักจะมีความสามารถเพี้ยนๆ ฮาๆ ที่คาดไม่ถึงติดมาด้วยเสมอ สภาพแวดล้อมที่เพิ่มเข้ามาใหม่อีกมากมายก็มีส่วนช่วยทำให้เกมเพลย์หลากหลายขึ้นด้วย เพราะในแต่ละดาวที่เราไปเยือนตามเนื้อเรื่องมักจะมาพร้อมกับศัตรูชนิดใหม่ๆ อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งทำให้เราต้องวางแผนการต่อสู้และเปลี่ยนปืนใช้อยู่เสมๆ ด้วย ยกตัวอย่างเช่นเหล่าทหาร Maliwan ที่เราต้องเจอบนดาว Prometheus ซึ่งมักจะมีเกราะบาเรียติดตัว ทำให้เราต้องใช้อาวุธธาตุสายฟ้าเพื่อทำลายบาเรียซะก่อน หรือศัตรูจากดาว Eden-6 ที่มักจะมีเลือดเยอะ ทำให้เราต้องใช้ปืนธาตุไฟเพื่อลดเลือดเร็วๆ เป็นต้น ซึ่งจุดนี้ก็ช่วยเสริมระบบปืนอันหลากหลายได้ดี ทำให้ผู้เล่นมีเหตุผลในการหาปืนใหม่ๆ ใช้ตลอดเวลา ความหลากหลายของศัตรูจะเห็นได้ชัดที่สุดเมื่อสู้กับเหล่าบอสน้อยใหญ่ที่เราพบเจอได้ในเกม ที่มักจะมาพร้อมกับเทคนิคการเอาชนะที่แตกต่างกัน ทำให้ผู้เล่นต้องใช้การวางแผนแทนการดระโดดเข้าไปสาดกระสุนเฉยๆ เหมือนศัตรูทั่วไป ทำให้การสู้บอสทุกตัวมีความท้าทาย และทำหน้าที่เป็นช่วงขั้นระหว่างการบู๊แหลกได้เป็นอย่างดี องค์ประกอบสุดท้ายที่อยากพูดถึงคือเรื่องของการเล่นกับเพื่อนหรือโหมด Multiplayer ที่ปรับปรุงมาใหม่เช่นกัน โดยในภาคนี้ได้ใส่ระบบใหม่ที่สำคัญลงไปสองอย่างคือ Loot-Instancing และ Level-scaling โดยอันแรก (Loot-Instancing) นั้นจะทำให้ผู้เล่นทุกคนที่เล่นด้วยกันจะได้รับไอเทมเป็นของตัวเอง ตั้งแต่กระสุน หลอดเพิ่มเลือด ไปจนถึงปืนต่างๆ ที่เก็บได้ตามฉาก ทำให้ไม่จำเป็นต้องไปแย่งกันเองเหมือนภาคก่อนๆ อีกต่อไป (แต่ก็ยังปรับให้แย่งกันเหมือนภาคเก่าได้นะ) ส่วน Level-scaling จะทำให้ผู้เล่นทุกคนต่อสู้กับศัตรูตามเลเวลของตัวเอง เช่นถ้าตัวละครผู้เล่น A เลเวล 5 ก็จะสู้กับศัตรูเลเวล 5 ในขณะที่ผู้เล่น B ซึ่งเลเวล 20 ที่อยู่ในห้องเดียวกันจะเห็นศัตรูเป็นเลเวล 20 ทั้งหมด หมายความว่าผู้เล่นจะสามารถเข้าร่วมเล่นกับเพื่อนได้ตลอดไม่ว่าเลเวลจะห่างกันแค่ไหน โดยที่เกมจะยังคงมีความท้าทายเหมาะสมกับระดับของผู้เล่นคนนั้นๆ เองด้วย ถือเป็นระบบใหม่ที่น่าสนใจมากๆ เพราะจะหมดปัญหาเรื่องการนัดเวลาเล่นให้ตรงกันไปเลย ทำให้การเล่นกับเพื่อนง่ายกว่าทุกครั้ง เชื่อว่าระบบนี้น่าจะถูกนำไปปรับใช้กับเกมแบบ Multiplayer อื่นๆ อีกในอนาคต พูดมาถึงตรงนี้ คงต้องเอ่ยถึงข้อเสียของเกมซะบ้าง โดยข้อเสียหลักๆ ของเกม Borderlands 3 น่าจะเป็นเรื่องของการแลคหรือกระตุกซึ่งเกิดขึ้นบ่อยพอสมควร โดยเฉพาะเวลาเล่นออนไลน์กับเพื่อน ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้รุนแรงจนทำให้เล่นไม่ได้หรือไม่สนุก แต่ก็เป็นปัญหาที่มีมาตั้งแต่สมัย Borderlands 2 แล้ว และไม่ควรเกิดขึ้นแล้วในเกมที่ออกมาในช่วงนี้ การเลือกปรับให้เกมรันในโหมด Performance อาจจะช่วยตรงจุดนี้ได้บ้าง แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้ปัญหาตรงนี้หายไปเลยได้อยู่ดี ◊ สรุป ◊ แม้จะไม่ใช่เกมที่เพอร์เฟ๊ค แต่ Borderlands 3 ก็เป็นเกมที่เล่นสนุกมากๆ แทบจะตลอดเวลาที่ได้เล่น ด้วยเกมเพลย์ที่เรียบง่ายแต่เร้าใจ กราฟฟิคลายการ์ตูนสีสันสดใสที่แม้จะผ่านไปเป็นสิบๆ ชั่วโมงก็ยังน่ามองอยู่เสมอ และความหลากหลายของอาวุธปืนและระเบิดที่ทำให้รู้สึกตื่นเต้นตลอดเวลา ทำให้เกม Borderlands 3 สามารถทวงศักดิ์ศรีในฐานะผู้บุกเบิกแนวเกม Shooter-Looter ได้อย่างสมภาคภูมิ ใครที่ต้องการเกมที่เล่นสนุกๆ กับเพื่อนได้ยาวๆ ไม่ควรพลาด! ติดตามข่าวสารเกมต่างๆ ได้ที่       [penci_review id="29087"]
20 Sep 2019
ลองเล่นมาแล้ว! พรีวิว Final Fantasy VII Remake "การกลับมาอย่างสมศักดิ์ศรีของ RPG ในตำนาน"
ให้สาธยายกันสามวันสี่คืนก็ไม่จบจริงๆ กับอิทธิพลอันใหญ่หลวงที่เกม Final Fantasy VII มี ทั้งต่อเหล่าเกมเมอร์ที่เติบโตขึ้นในยุคค.ศ. 90 ตอนปลาย ไปจนถึงแนวเกม RPG และวงการเกมในภาพกว้าง ตั้งแต่การใช้กราฟฟิคแบบโพลิกอน 3D ทั้งเกมเป็นเกมแรกๆ ของยุค แนวทางการออกแบบศิล์ปที่ผสมผสานเทคโนโลยีไฮเทคเข้ากับความเป็นแฟนตาซีที่กลายเป็นเอกลักษณ์ของซีรี่ส์ Final Fantasy จวบจนทุกวันนี้ แถมยังเป็นเกมที่ยกระดับให้ค่ายเกมญี่ปุ่น Square Soft กลายเป็นค่ายเกมแนวหน้าที่รู้จักกันไปทั่วโลกแม้กระทั่งในตลาดตะวันตก แม้เวลาจะล่วงเลยมากว่า 20 ปีแล้วนับตั้งแต่ที่เกมวางจำหน่ายครั้งแรกในปี 1997 แต่เกม Final Fantasy VII ก็ยังคงเป็นเกม JRPG โปรดของผู้เล่นเกมหลายๆ คน ที่ยังคงยกให้เกมเป็นหนึ่งใน JRPG ที่ดีที่สุดที่เคยสร้างมาเลยทีเดียว ด้วยประการต่างๆ ที่ว่าไปข้างต้น ทำให้การมาถึงของเกม Final Fantasy VII Remake สร้างความตื่นเต้นและกังวลให้กับเหล่าแฟนเกมทั่วโลกไปพร้อมๆ กัน ในแง่หนึ่งก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเรื่องน่ายินดีที่เหล่าแฟนเกมรุ่นใหญ่จะได้หวนคืนสู่โลก Gaia และเหล่าตัวละครอันเป็นที่รักที่ถูกสร้างใหม่ด้วยกราฟฟิคอันสวยงามของเกมยุคปัจจุบัน แถมยังเป็นโอกาสอันดีที่เหล่าเกมเมอร์รุ่นเด็กๆ จะได้สัมผัสกับเกม RPG ระดับตำนานนี้เป็นครั้งแรกในรูปแบบที่เข้าถึงง่ายกว่าการหาเกมยุค PS1 กลับมาเล่นอีกด้วย แต่ในอีกแง่หนึ่ง ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าเกม Final Fantasy VII Remake ที่ผู้พัฒนาประกาศว่าจะเปลี่ยนแปลงระบบการเล่นอันเป็นหัวใจหลักไปอย่างสิ้นเชิง อาจจะทำให้แฟนๆ เกมที่ยังคงรักเกมภาคเก่าหัวปักหัวปำรู้สึกไม่ถูกใจกับการเปลี่ยนแปลงของเกมในดวงใจ และอาจจะแอบผิดหวังเล็กๆ กับระบบการเล่นใหม่ที่จะเข้ามาทดแทนการเล่นแบบคลาสสิคที่โหยหาจะได้สัมผัสอีกครั้ง ผู้เขียนได้มีโอกาสลองเล่นเกม Final Fantasy VII Remake ในงาน Tokyo Game Show 2019 ที่ผ่านมา (ขอขอบคุณ Square Enix และ PlayStation ที่จัดช่องเวลาเอาไว้ให้) โดยเดโมที่ได้ลองเล่นคือฉากการวางระเบิดเตาปฏิกรณ์ Mako ซึ่งมีคนบอกมาว่าคือฉากเปิดเกมภาคดั้งเดิม โดยเราจะสามารถควบคุมตัวละครได้สองตัวคือตัวเอก Cloud Strife และ Barret Wallace สลับไปมาระหว่างตัวละครทั้งสองได้ตลอดเวลา สิ่งแรกที่ผู้เล่นทุกคนน่าจะสังเกตคือภาพกราฟฟิคของเกม ที่ทำออกมาได้สมจริงคมชัดยิ่งกว่าเกมของ Square Enix หลายๆ เกมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเลยทีเดียว ตั้งแต่กราฟฟิคส่วนพื้นผิวของสิ่งของ ไปจนถึง Particle Effect แสงสีระยิบระยับตามฉาก ที่ทำออกมาได้อย่างปราณีต เปี่ยมไปด้วยรายละเอียดที่ยิ่งสังเกต ลงไปก็ยิ่งเห็นมากขึ้น เช่นเดียวกับอนิเมชั่นและสีหน้าของตัวละครต่างๆ ที่ใช้เทคโนโลยี Motion-Capture ทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายและใบหน้าของตัวละครมีความลื่นไหลสมจริงมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นองค์ประกอบที่สามารถเสริมอรรถรสในส่วนของเนื้อเรื่องเกมได้เป็นอย่างดี การเปลี่ยนมาใช้มุมมองแบบบุคคลที่สามก็ช่วยในการสร้างบรรยากาศของเกมได้อีกเช่นกัน เพราะผู้เล่นสามารถบังคับตัวละครให้สำรวจตามฉากเพื่อหาไอเทมได้อย่างอิสระ โดยมุมมองที่เปลี่ยนไปยังทำให้สถานที่ในฉากที่เคยเป็นเพียงภาพแบนๆ มีมิติขึ้นมา ช่วยสื่อถึงขนาดและ/หรือความตื้นลึกหนาบางของแต่ละสถานที่ได้ดีกว่าเดิม ทำให้ฉากที่หลายๆ คนอาจจะเคยเห็นมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วนมีชีวิตชีวาอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน [caption id="attachment_28612" align="aligncenter" width="1024"] ภาพเก่าเอามาเล่าใหม่ให้ใหญ่กว่าเดิม[/caption] ในส่วนของเกมเพลย์นั้น ระบบการเล่นของเกม Final Fantasy VII Remake จะผสมผสานการควบคุมแบบแอคชั่นเต็มรูปแบบเข้ากับระบบ ATB ที่พบเห็นได้ในเกม Final Fantasy หลายๆ ภาคที่ผ่านมา โดยการต่อสู้จะเน้นใช้การโจมตีธรรมดาเป็นคอมโบเพื่อเก็บเกจ ATB ของตัวละคร ซึ่งจะกลายมาเป็นทรัพยากรสำหรับใช้ท่า Ability ต่างๆ ของตัวละครอีกที ตัวแทนจาก Square Enix ได้อธิบายว่าเกมถูกออกแบบมาให้ผู้เล่นใช้การโจมตีธรรมดา (ปุ่มสี่เหลี่ยม) เพื่อเพิ่มเกจ ATB เป็นหลักมากกว่าเพื่อสร้างความเสียหาย และใช้ความสามารถพิเศษต่างๆ เพื่อปลิดชีพศัตรูอีกที ถ้าจะให้เปรียบความแอคชั่นของเกมกับเกมอื่นๆ ของผู้พัฒนา Square Enix อย่าง Final Fantasy XV หรือ Kingdom Hearts ผู้เขียนรู้สึกว่า FFVIIR (Final Fantasy VII Remake) น่าจะใกล้เคียงกับ Final Fantasy XV มากกว่า เพราะผู้เล่นก็ยังมีความสามารถในการกลิ้งหลบหรือป้องกันการโจมตีของศัตรูไม่ต่างกัน แต่ในขณะเดียวกัน FFVIIR ก็ยังมีความลื่นไหลมากกว่า Final Fantasy XV อยู่หน่อยจากอนิเมชั่นการโจมตีที่รวบรัดกว่า [caption id="attachment_28613" align="aligncenter" width="1024"] การต่อสู้แบบแอคชั่นที่ดุเดือดรวดเร็ว[/caption] นอกจากนี้ ผู้เล่นยังสามารถสลับไปมาระหว่างตัวละครเพื่อใช้ความสามารถเฉพาะตัวของตัวละครนั้นๆ ให้เข้ากับสถานการณ์ได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่นการเปลี่ยนเป็น Barret เพื่อใช้แขนปืนกลของเขากำจัดศัตรูที่อยู่ที่สูงที่ Cloud ใช้ดาบฟันไม่ถึงนั่นเอง น่าสนใจว่าตัวละครร่วมทีมอื่นๆ จะมีความสามารถเฉพาะตัวแตกต่างกันแค่ไหน แต่อาจจะด้วยความที่เดโมถูกปรับให้ง่าย หรืออาจจะเพราะเป็นส่วนเริ่มต้นของเกมก็ดี ผู้เขียนกลับรู้สึกว่าแทบไม่ได้จำเป็นต้องใช้ท่าพิเศษหรือใช้การวางแผนใดๆ ก็สามารถกำจัดศัตรูธรรมดาๆ อย่างทหารชินระหรือหุ่นโดรนตัวเล็กๆ ตามฉาก ได้แบบไม่มีปัญหาด้วยการกดปุ่มโจมตีซ้ำๆ เฉยๆ ทำให้ยังไม่ค่อยเห็นภาพนักว่าถ้าเกมเริ่มเพิ่มลูกเล่นต่างๆ มากขึ้น (เช่นมนต์ซัมม่อน หรือแค่เพียงเพิ่มตัวละครในปาร์ตี้อีกซักตัวสองตัว) จะทำให้เกมเพลย์ท้าทายมากกว่านี้แค่ไหน แต่โดยเบื้องต้นนั้นถือว่าเกมเพลย์ของ FFVIIR สอบผ่านในแง่ของความรู้สึกอันลื่นไหลเป็นธรรมชาติ แม้ว่าจะยังไม่ได้ต้องใช้ความคิดหรือฝีมือนักในเดโม นอกจากนี้ เกมยังมีระบบการ Stagger คล้ายๆ กับในเกม Final Fantasy XV ที่เมื่อโจมตีศัตรูจนล้ม (สังเกตได้จากหลอดสีส้มๆ ใต้หลอดเลือด) จะทำให้ศัตรูติดสถานะ Stagger ส่งผลให้โดนความเสียหายแรงขึ้น ซึ่งการเล่นในส่วนหลังๆ น่าจะมีความสำคัญขึ้นมา แต่ในเดโมที่ผู้เขียนเล่นยังไม่ได้จำเป็นเท่าไหร่นัก [caption id="attachment_28617" align="aligncenter" width="1024"] ท่า Triple Slash สุดคลาสสิค[/caption] ส่วนเดียวของเดโมที่ทำให้ผู้เขียนต้องใช้การวางแผนซักหน่อยก็คือส่วนของบอสหุ่นยนต์แมลงป่องช่วงท้ายเดโม ที่จะคอยยิงจรวดติดตามใส่เราตลอดเวลาทำให้ต้องคอยหยุดโจมตีและหันมาป้องกันหรือกลิ้งหลบบ้าง และยังสามารถเปิดเกราะบาเรียที่ต้องใช้เวทย์สายฟ้า Thunder ของ Barret ใส่เพื่อลบออกก่อนจะโจมตีได้ แถมพอเลือดเหลือน้อยยังสามารถยิงปืนใหญ่เลเซอร์ใส่เราได้อีก ทำให้ผู้เล่นต้องวิ่งไปหลบหลังสิ่งกีดขวางตามฉากเพื่อไม่ให้โดนเลเซอร์ ซึ่งในจุดนี้ก็ทำให้เห็นภาพมากขึ้นว่าระบบต่อสู้ของเกมจะท้าทายผู้เล่นอย่างไรบ้าง [caption id="attachment_28618" align="aligncenter" width="768"] ลุง Barret หล่อกว่าเดิมเยอะเลย[/caption] อีกหนึ่งองค์ประกอบของระบบต่อสู้ที่น่าพูดถึงคือระบบ Tactical Mode ที่จะชะลอการเคลื่อนไหวทั้งหมดในจอเพื่อให้ผู้เล่นสามารถเลือกใช้ไอเทม สกิล หรือกระทั่งท่าสุดยอดอย่าง Limit Break จากเมนูเหมือนเกม RPG ทั่วไปได้ และสามารถใช้สั่งเพื่อนร่วมทีม A.I. ให้ทำนู่นทำนี่ได้ด้วย (ลองนึกภาพเกมเพลย์ของ Dragon Age: Inquisition แต่ไม่ลึกเท่า) ซึ่งในจุดนี้ผู้เขียนยังไม่รู้สึกถึงความจำเป็นในการใช้ระบบนี้เท่าไหร่นักในเดโมเพราะทุกอย่างรวมถึงบอสสามารถรับมือได้ด้วยการโจมตีธรรมดาๆ หรือการใช้ปุ่มลัดโดยการกด L1 ค้างและกดปุ่มสัญลักษณ์เพื่อใช้สกิลเหมือนเกมแอคชั่น แต่ก็พอจินตนาการได้ว่าถ้าเริ่มเจอศัตรูระดับสูงที่มีจุดอ่อนที่ซับซ้อนกว่านี้ ก็อาจจะกลายเป็นระบบที่จำเป็นมากก็ได้เช่นกัน [caption id="attachment_28619" align="aligncenter" width="768"] เมื่อเข้า Tactical Mode จะทำให้ทุกอย่างเคลื่อนไหวช้าลง และจะมีเมนูขึ้นมาตรงมุมซ้ายล่าง[/caption] ต้องยอมรับตรงๆ ว่าผู้เขียนไม่ใช่คนที่ตื่นเต้นกับเกม Final Fantasy VII Remake มากเท่ากับคนอื่นๆ ที่เป็นแฟนตัวยงของเกม แต่เสี้ยวเดโมที่ได้เล่นก็สนุกและน่าสนใจมากพอที่จะทำให้ผู้เขียนอยากจะเล่นและสำรวจเกมๆ นี้ต่อไปอีกยาวๆ เลยทีเดียว Final Fantasy VII Remake มีกำหนดวางจำหน่ายวันที่ 3 มีนาคม 2020 สำหรับเครื่อง PS4 โดยเฉพาะ ติดตามข่าวสารเกมต่างๆ ได้ที่
13 Sep 2019
ปู่นินใจป้ำ! เสนอซ่อม Joy-Con ที่มีปัญหาฟรี คนที่เคยซ่อมแล้วรับเงินคืนได้!
แม้ว่าผู้เล่นส่วนใหญ่ดูจะพอใจกับคุณภาพของเครื่อง Nintendo Switch กันจนคอนโซลสามารถทำสถิติยอดขายในหลายตลาดทั่วโลก แต่ก็มีผู้เล่นจำนวนไม่น้อยที่ต้องประสบปัญหากับอุปกรณ์ Joy-Con ของตน ที่ตัวแกนอนาล๊อคเกิดค้างหรือที่เรียกว่า Joy-Con Drift นั่นเอง ล่าสุด ดูเหมือนว่าผู้ที่กำลังปวดหัวกับปัญหา Joy-Con Drift อาจจะมีข่าวดีให้ได้ดีใจกันแล้ว เมื่อมีการเปิดเผยเอกสารภายในของบริษัท Nintendo ที่ระบุว่าบริษัทจะรับซ่อมอุปกรณ์ Joy-Con ที่มีปัญหาดังกล่าวแบบฟรีๆ โดยที่ผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องแสดงหลักฐานการซื้อ (ใบเสร็จหรือบิลอะไนทำนองนั้น) และไม่ต้องมีประกันเครื่องอีกด้วย! สำหรับคนที่เคยจ่ายตังค่าซ่อมไปแล้วไม่ต้องเสียใจ เพราะปู่นินยังรับปากด้วยว่าจะทำการคืนเงินให้ผู้ที่เคยส่งซ่อมอุปกรณ์ Joy-Con มาก่อน ขอแค่ผู้เล่นส่งคำร้องเพื่อรับเงินคืนเข้าไปทางศูนย์บริการลูกค้าของบริษัท ปัญหา Joy-Con Drift ถือเป็นหนึ่งในจุดบกพร่องที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในเครื่อง Nintendo Switch โดยต้นตอของปัญหาดังกล่าวยังไม่แน่ชัดว่ามาจากไหน มีผู้เล่นบางคนสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นปัญหามาจากการที่ฝุ่นเข้าไปติดในแกนอนาล๊อค ในขณะที่บางคนก็โทษปัญหาในขั้นตอนการผลิต ทั้งนี้ ข่าวนี้ยังเป็นเพียงข้อมูลที่หลุดออกมาจากเอกสารภายในบริษัทเท่านั้น โดยทางนินเทนโด้ยังไม่ได้ออกมาประกาศการรับซ่อมอย่างเป็นทางการในขณะนี้ แต่เมื่อพิจารณาว่าค่ายกำลังอยู่ในระหว่างการถูกฟ้องร้องจากปัญหา Joy-Con Drift นี้แล้วก็คงไม่น่าแปลกใจถ้าค่ายจะมีมาตรการแก้ไขที่หนักแน่นแบบนี้เช่นกัน อ้างอิง: https://gamerant.com/nintendo-fix-switch-joy-cons-drift-free/  
25 Jul 2019
GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
ผลการค้นหา : "Line Today"
โคจิม่าเผย Death Stranding เป็นเกมที่ต้องใช้เวลาเล่น เยอะมากๆ กว่าจะจบเนื้อเรื่อง
อีกประมาณเดือนเดียวเท่านั้นก่อนที่เหล่าเกมเมอร์ทั่วโลกจะได้สัมผัสกับ Death Stranding ผลงาน PS4 Exclusive ใหม่ล่าสุดจากผู้พัฒนาระดับเทพอย่าง Hideo Kojima (ฮิเดโอะ โคจิม่า) โดยผู้พัฒนาเองก็เริ่มออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับเกมสุดพิศวงนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เดโมเกมเพลย์ความยาวเกือบ 50 นาทีที่เปิดให้ชมกันในงาน Tokyo Game Show 2019 ที่ผ่านมา ไปจนถึงบทสัมภาษณ์มากมายที่ออกมาให้อ่านกันแทบจะทุกวันเลยทีเดียว แต่แม้ว่าคุณโคจิม่าจะออกมาเปิดเผยข้อมูลจนผู้เล่นเริ่มเห็นภาพมากขึ้นว่าเกมจะเกี่ยวกับอะไร เล่นยังไง แต่สิ่งหนึ่งที่ยังไม่มีคำตอบคือความยาวของเนื้อเรื่องเกมว่าการจะผ่านเนื้อเรื่องจนจบจะต้องใช้เวลาเท่าไหร่กันแน่ กระทั่งคุณโคจิม่าเองก็ยังกั๊กคำตอบนี้อยู่ เมื่อล่าสุดผู้พัฒนาได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อ DTR ของประเทศรัซเซียเพียงว่าเกม Death Stranding จะใช้เวลา เยอะมากๆ ในการเล่นให้จบ (อ้างอิงข้อมูลที่แปลมาเป็นภาษาอังกฤษในเว็บ Reddit) แม้ว่าคำตอบของคุณโคจิม่าจะยังคลุมเครืออยู่มาก (เหมือนรายละเอียดเกี่ยวกับเกมหลายๆ อย่าง...) แต่ถ้าลองวัดจากเกมที่ผ่านๆ มาของคุณโคจิม่าอย่างเกม Metal Gear Solid V: The Phantom Pain ก็ใช้เวลาเฉลี่ยในการเล่นให้จบอยู่ที่ประมาณ 45 ชั่วโมง (อิงจากเว็บ howlongtobeat.com) เชื่อว่า Death Stranding เองก็คงไม่น้อยไปกว่ากันนัก น่าจะอยู่ที่ราวๆ 40-50 ชั่วโมงในการจบเนื้อเรื่อง Death Stranding จะวางจำหน่ายในวันที่ 8 พฤษจิกายนนี้สำหรับ PS4 โดยเฉพาะ ติดตามข่าวสารเกมต่างๆ ได้ที่
08 Oct 2019
Marvels Avengers เปิดเผยความยาวเนื้อเรื่องแล้ว
แม้จะยังต้องรอกันไปอีกพักใหญ่กว่าจะได้ลองเล่นเกม Marvels Avengers กันจริงๆ แต่หนึ่งในคำถามที่เหล่าเกมเมอร์ผู้รอเล่นเกมอยู่ต้องการคำตอบมากที่สุดก็คือความยาวของเกมว่าจะมีเนื้อหาให้เล่นกันเท่าไหร่กันแน่ แม้ว่าผู้พัฒนาจะเคยออกมาประกาศแล้วว่าจะทำการเพิ่มเนื้อหาต่างๆ ทั้งภารกิจ ด่าน และตัวละครใหม่ๆ เข้าไปในเกมแบบฟรีๆ เป็นประจำแล้ว แต่ก็ยังไม่เคยกล่าวชัดเจนว่าเกมจะมีเนื้อหามากน้อยเพียงใดในช่วงที่วางจำหน่ายใหม่ๆ ล่าสุด ดูเหมือนว่าเราจะได้คำตอบกันแล้ว เมื่อผู้บริหารแบรนด์อาวุโส (Senior Brand Director) ของค่ายพัฒนา Crystal Dynamics คุณ Rich Briggs เปิดเผยในบทสัมภาษณ์กับเว็บ comicbooks.com ว่าเกม Marvels Avengers จะใช้เวลาในการเล่นเนื้อเรื่องราวๆ 10-12 ชั่วโมง ซึ่งจะใกล้เคียงกับเกมที่ผ่านๆ มาของค่ายอย่างเกมซีรี่ส์ Tomb Raider หลายๆ ภาคที่ผ่านมานั่นเอง ในส่วนของเนื้อหาเสริมต่างๆ นั้น ทางคุณ Rich เปิดเผยว่าค่ายตั้งเป้าไว้ใกล้เคียงกับเกมซีรี่ส์อื่นๆ ของค่ายเช่นกัน ซึ่งหมายความว่าการจะเล่นเนื้อหาทั้งหมดของเกม Marvels Avengers น่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 30 ชั่วโมง "ถ้าคุณอยากจะสัมผัสทุกอย่างในเกม ตั้งแต่การเล่นภารกิจเสริมทั้งหมดไปจนถึงกิจกรรมย่อยๆ อื่นๆ คุณน่าจะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 30 ชั่วโมงเหมือนกับเกม Tomb Raider นั่นแหละ พูดง่ายๆ คือเราคงยังไม่สามารถพูดได้ชัดเจนนักว่าเกมจะใช้เวลาประมาณเท่าไหร่กันแน่ แต่ก็คาดหวังไว้ได้เลยว่าเราจะมีเนื้อหาไม่น้อยไปกว่าเกมอื่นๆ ที่ค่ายเคยพัฒนามา และแน่นอนว่าเรายังมีเนื้อเรื่องและเนื้อหาเสริมอีกมากมายที่วางแผนเอาไว้ รวมไปถึงฮีโร่ใหม่ๆ ที่จะถูกเพื่มเข้าไปหลังจากเกมวางจำหน่ายด้วย" ถ้าให้ว่ากันตามตรง เวลาเพียง 10-12 ชั่วโมง หรือกระทั่งเวลา 30 ชั่วโมงถือว่าไม่ยาวเลยสำหรับเกมแนว Action RPG (อาจจะค่อนไปทางสั้นด้วยซ้ำ) ซึ่งถ้าสุดท้ายกิจกรรมเสริมต่างๆ ของเกมมีคุณภาพไม่ดีหรือไม่สนุกก็อาจจะทำให้ผู้เล่นรู้สึกว่าเกมมีเนื้อหาน้อยได้เช่นกัน คงต้องรอดูกันต่อไปด้วยว่าเนื้อหาเสริมที่ผู้พัฒนาจะเพิ่มเข้าไปฟรีๆ นั้นจะช่วยยืดเวลาชีวิตของเกมออกไปได้มากน้อยแค่ไหน Marvels Avengers จะวางจำหน่ายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2020 สำหรับ PS4, Xbox One, PC และ Google Stadia  
07 Oct 2019
Death Stranding เปิดตัวชุด Limited PS4 Pro Bundle สุดคูล วางจำหน่ายพร้อมเกมพฤษจิกายนนี้
แม้จะไม่ได้มีเกมเพลย์ใหม่ๆ มาโชว์ในไลฟ์สตรีม State of Play ครั้งล่าสุด (น่าจะเพราะโชว์หมดเปลือกไปแล้วในงาน Tokyo Game Show 2019 ที่ผ่านมา) แต่อย่างน้อย Death Stranding ก็ไม่ได้มามือเปล่า โดยผู้พัฒนา Kojima Productions ได้ถือโอกาสนี้เปิดตัวเครื่อง PS4 Pro รุ่น Limited Edition Bundle ของเกม ซึ่งจะวางจำหน่ายพร้อมเกมในวันที่ 8 พฤษจิกายนนี้ นอกจากจะได้เครื่อง PS4 Pro สีขาวดำลายพิเศษแล้ว ชุดยังจะมาพร้อมกับจอย Dual Shock 4 กรอบใสสีเหลืองที่ให้ลุคสุดคลาสสิค เหมือนจอยเกมสมัย PS1-PS2 อะไรอย่างงั้น ในขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่าเครื่องจะวางจำหน่ายในราคาเท่าไหร่ แต่คาดว่าน่าจะไม่ต่างจากราคาของเครื่องรุ่นพิเศษที่ผ่านๆ มา โดยเราจะทำการอัพเดทราคาเมื่อได้รับข้อมูลที่แน่นอนอีกครั้ง ติดตามข่าวสารเกมต่างๆ ได้ที่
24 Sep 2019
Review: รีวิวเกม Borderlands 3 "การกลับมาของตัวพ่อเกม Shooting-RPG"
แนวเกม: Shooter-Looter (FPS/RPG) ผู้พัฒนา: Gearbox Software ผู้จัดจำหน่าย: 2K Games เวลาที่ใช้เล่น: ประมาณ 30 กว่าชั่วโมง (จบเนื้อเรื่อง) แพลตฟอร์ม: PS4, Xbox One, PC (Epic Games store) รีวิวใน PS4 Pro ถ้าจะให้พูดถึงแนวเกมเกมแนว Shooter-Looter หรือเกมยิงปืน (ทั้งแบบ FPS และบุคคลที่สาม) ที่ผสมผสานองค์ประกอบของเกม RPG เข้าไปด้วย ถือเป็นแนวเกมลูกผสมที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในยุคคอนโซลปัจจุบันนี้ ตั้งแต่เกมอย่าง Destiny, Anthem, The Division, Warframe, หรือเกมที่กำลังจะออกอย่าง Ghost Recon: Breakpoint ต่างก็จัดอยู่ในเกมแนว Shooter-Looter ทั้งสิ้น และทุกเกมก็เป็นเกมที่มีคนจับตามองอย่างใกล้ชิดตลอดการพัฒนา (แต่วางจำหน่ายมาแล้วรุ่งหรือร่วงอีกเรื่องหนึ่ง...) อีกหนึ่งเกมแนว Shooter-Looter ที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยในฐานะผู้ให้กำเนิด (หรืออย่างน้อยก็เป็นเกมที่ทำให้แนวนี้ฮิตขึ้นมา) ซึ่งก็คือเกมซีรี่ส์ Borderlands ที่วางจำหน่ายครั้งแรกตั้งแต่ปี 2009 โดยนำเกมเพลย์แบบชู้ตติ้งบุคคลที่ 1 (FPS) มาผนวกเข้ากับระบบการพัฒนาตัวละครและไอเทมของเกม RPG จนทำให้เกมกลายเป็นซีรี่ส์ในดวงใจของคนหลายๆ คนตลอดหลายปีที่ผ่านมา จนขนาดเกมภาคต่อ Borderlands 2 (วางจำหน่ายเมื่อปี 2012) ยังคงมียอดผู้เล่นหลายล้านคนจวบจนถึงทุกวันนี้ หลังจากที่เว้นช่วงให้คิดถึงไปหลายปี ในที่สุดเกมเมอร์ทั่วโลกก็จะได้มีโอกาสหวนคืนสู่ดาว Pandora อีกครั้งกับเกม Borderlands 3 ที่เพิ่งวางจำหน่ายไปเมื่อวันที่ 13 กันยายนที่ผ่านมา ที่กลับมาพร้อมกับองค์ประกอบด้านกราฟฟิคลายการ์ตูน Cel-Shade อันเป็นเอกลักษณ์ และเกมเพลย์แบบคลาสสิคที่สามารถรักษาจิตวิญญาณดั้งเดิมของซีรี่ส์เอาไว้พร้อมๆ กับการปรับปรุงรายละเอียดเกมเพลย์ให้ทันสมัยขึ้น ซึ่งน่าจะตอบโจทย์แฟนๆ ดั้งเดิมของซีรี่ส์ที่เฝ้ารอมาตลอดได้เป็นอย่างดี ◊ เนื้อเรื่อง ◊ สำหรับเนื้อเรื่องของเกม Borderlands 3 จะเกิดขึ้น 5 ปีหลังจากการตายของตัวร้าย Handsome Jack (แจ๊คหน้าหล่อ) จากเกมภาคที่แล้ว โดยผู้เล่นจะสามารถเลือกรับบทเป็นนักล่าสมบัติ (Vault Hunter) หน้าใหม่ทั้งหมด 4 ตัวเพื่อร่วมมือกับกลุ่มนักสู้ Crimson Raiders ที่นำโดยตัวละครอดีตนักล่าสมบัติจากเกมภาคแรก Lilith เพื่อต่อกรกับสองคู่หูฝาแฝดผู้ชั่วร้าย Calypso Twins และเหล่าลูกสมุนนับล้านจากกลุ่ม Children of the Vault และยับยั้งแผนในการยึดครองจักรวาลของทั้งสองคนนั่นเอง แม้ว่าอาจจะไม่ใช่องค์ประกอบที่ผู้เล่นเกม Borderlands จะคิดถึงเป็นอย่างแรกเมื่อพูดถึงจุดเด่นของเกม แต่เนื้อเรื่องในเกม Borderlands 3 ก็ยังถือเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มสีสันให้กับเกมได้เป็นอย่างดี ด้วยบทอันยียวนกวนประสาทของเกมที่ปล่อยมุกตลกตลอดเวลา ไปจนถึงเหล่าตัวละครทั้งเก่าและใหม่ที่วนเวียนกันเข้ามาสร้างความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ อยู่เรื่อยๆ ทำให้การเล่นผ่านเควสเนื้อเรื่องที่มีอยู่มากมายของเกมผ่านไปได้อย่างรวดเร็วกว่าที่คิดไว้ อย่างผู้เขียนใช้เวลาเล่นจนจบเนื้อเรื่อง (เล่นเควสเสริมน้อยมาก) ยังใช้เวลาไปเกือบ 35 ชั่วโมง แต่กลับไม่ได้รู้สึกว่านานเลยซักนิดเดียว ยังสามารถเล่นต่่อไปได้เรื่อยๆ เพราะอยากเห็นว่าเกมจะมีตัวละครเพี้ยนๆ แปลกๆ อะไรออกมาให้เราเจออีก ที่น่าชมอีกอย่างคือเนื้อเรื่องของภารกิจเสริมหลายๆ อัน ที่มีความละเอียดและต่อเนื่องไม่ต่างกับภารกิจเนื้อเรื่องเลยด้วย แม้จะไม่ใช่ภารกิจเสริมทั้งหมดที่จะมีคุณภาพดีขนาดนั้น แต่ก็ยังมีอีกหลายภารกิจที่สนุกไม่แพ้เนื้อเรื่องหลัก แถมภารกิจส่วนใหญ่ยังมีวิธีการผ่านที่ค่อนข้างแตกต่างกัน (ไม่ได้แค่ให้ ฆ่ามอน 5 ตัว หรือ เก็บของ 5 ชิ้น) หรือบางอันอาจจะมีเงื่อนไขในการผ่านที่แปลกแหกวแนวในแบบที่เราคาดไม่ถึง ทำให้แม้จะทำไปเยอะแค่ไหนก็ยังรู้สึกว่ามีอะไรใหม่ๆ มาให้ตื่นเต้นหรือตลกไปกับมันแทบจะตลอดเวลาเลย แต่ในขณะเดียวกันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยความที่เกมเป็นภาคต่อ รวมไปถึงความยาวของเนื้อเรื่องและรูปแบบการดำเนินเรื่องที่ค่อนข้างช้า (เมื่อเทียบกับเกมทั่วไป) อาจจะทำให้ผู้เล่นที่ไม่ได้อินกับเนื้อเรื่องหรือตัวละครของเกมภาคเก่าๆ มาก่อนรู้สึกงงกับเนื้อเรื่องหรือมุกล้อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรืออาจจะหงุดหงิดกับการดำเนินเรื่องอยู่บ้าง แต่ถ้าไม่ได้คาดหวังจะได้รับประสบการณ์เนื้อเรื่องแบบจริงจังอย่างในเกมเนื้อเรื่องทั่วๆ ไป ก็น่าจะยังหาความบันเทิงกับมุกตลกหรือตัวละครกาวๆ อันเป็นเอกลักษณ์ของซีรี่ส์ได้อยู่ ◊ กราฟิก / การนำเสนอ ◊ แม้ว่าเกม Borderlands 3 จะไม่ได้ใช้กราฟฟิคที่สวยสมจริงเหมือนเกมหลายๆ เกม แต่คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่าภาพกราฟฟิคลายการ์ตูน Cel-Shade ของเกมนั้นไม่สวย โดยเฉพาะในเกม Borderlands 3 นี้ ที่ผสมผสานกราฟฟิคอันเป็นเอกลักษณ์ของเกมเข้ากับเทคนิคการแสดงผลแสงและเงาที่ทันสมัย ทำให้สิ่งแวดล้อมของเกม Borderlands 3 มีมิติกว่าทุกครั้ง ซึ่งทำให้การสำรวจแผนที่สนุกกว่าเดิมขึ้นไปอีกขั้น เป็นผลดีมากในภาพรวมเพราะเกม Borderlands มักจะบังคับให้ผู้เล่นจำเป็นต้องเดินทางไปๆ กลับๆ ในแผนที่เดิมหลายต่อหลายครั้งอยู่แล้ว โดยเฉพาะถ้าผู้เล่นอยากจะเก็บภารกิจเสริมที่มีอยู่มากมายในเกม การที่ปรับปรุงสภาพแวดล้อมก็ทำให้การเล่นจุดนี้ไม่น่าเบื่อเหมือนหลายๆ ภาคที่ผ่านมา ที่พัฒนาไปอีกขั้นก็คือกราฟฟิคโมเดลของปืนทุกชนิดในเกม ที่เพิ่มความละเอียดขึ้นมาอย่างมาก ปืนทุกกระบอกจะมีรายละเอียดหรือกลไกเล็กๆ น้อยๆ ที่ขยับอยู่ตลอดเวลา ปืนแต่ละชนิดยังมีกราฟฟิคกระสุนและเสียงยิงที่แตกต่างกัน ขนาดปืนที่หน้าตาคล้ายกันสองกระบอกยังอาจจะยิงกระสุนออกมาเป็นคนละแบบอย่างสิ้นเชิง แถมด้วยจำนวนปืนที่เกมมีให้ลองใช้กันเป็นหลักพันล้านกระบอก ทำให้การได้ปืนมาใหม่ซักกระบอกมีความหมายมากกว่าแค่การพัฒนาความสามารถตัวละคร เพราะแม้จะเล่นไปแล้วเป็นสิบชั่วโมง แต่ผู้เขียนก็ยังตื่นเต้นที่จะได้ลองหยิบปืนกระบอกใหม่ๆ แปลกๆ ขึ้นมาลองใช้ตลอดเวลา ความพิเศษอีกอย่างในเกมภาคใหม่นี้คือการเปิดให้ผู้เล่นสามารถเลือกปรับให้เกมแสดงผลโดยเน้น Resolution (ความคมชัด) หรือ Framerate (เฟรมเรต) ได้ด้วย การเลือกโหมด Resolution จะทำให้เกมเน้นแสดงภาพพื้นผิวและแสง/เงาในระดับ 4K แต่จะล๊อคเฟรมเรตไว้ที่ 30FPS ส่วนโหมด Framerate จะทำให้เกมลดความคมชัดของกราฟฟิคลง แลกกับการเล่นที่รู้สึกลื่นไหลมากขึ้น สำหรับผู้เขียนรีวิวเกมในเครื่อง PS4 Pro และเลือกโหมด Framerate ทำให้เกมแสดงผลที่ความชัด 1080p 60FPS จากการทดสอบพบว่าการเลือกโหมด Resolution นั้นทำให้ภาพพื้นผิวทั้งหมดในเกมสวยขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ด้วยความที่เกมเองก็ไม่ได้ใช้กราฟฟิคสมจริงเป็นพิเศษด้วยแล้วด้วย เรียกว่าอาจจะใกล้เคียงกับใน PC เลยก็ว่าได้ ในขณะที่การเลือกโหมด Framerate นั้นทำให้ภาพมีความ แบน ลงอย่างชัดเจน ไม่ถึงกับทำให้ภาพไม่สวย แต่ก็ลดความมีมิติลงอย่างชัดเจนเลย แลกมากับการที่เกมปลดล๊อคเฟรมเรตให้ขึ้นไปได้ถึง 60FPS (แม้ว่าเฟรมเรตของเกมมักจะเหวี่ยงไปมาพอสมควรในจังหวะชุลมุน) ทั้งนี้ แม้ว่ากราฟฟิคของเกมในภาพรวมจะถือว่าทำออกมาได้ค่อนข้างดี แต่เกมก็ยังคงมีปัญหาเรื่องเฟรมตกอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะเวลาเล่นออนไลน์ ที่บางครั้งเกมก็จอค้างหรือมืดไปเลยในเวลาที่กำลังบู๊ๆ กันอยู่เพราะเอฟเฟกต์กระสุนอันอลังการของทั้งเราและศัตรู แถมบางครั้งเสียงของเกมก็ชอบตัดไปเอง หรืออาจจะช้าตามภาพไม่ทัน ซึ่งทั้งหมดเป็นปัญหาที่มักจะพบเจอในเกม Borderlands 2 ซึ่งวางจำหน่ายมาแล้วเกือบ 10 ปีด้วย แม้จะเกิดขึ้นบ่อยหรือรุนแรงจนส่งผลเสียกับความสนุกของเกมขนาดนั้นในความเห็นของผู้เขียน แต่ทั้งหมดก็เป็นปัญหาที่น่าจะแก้ไขให้หมดไปได้นานแล้วอยู่ดี ◊ เกมเพลย์ ◊ เช่นเดียวกับในเกมภาคที่ผ่านๆ มา สิ่งแรกที่ผู้เล่นจะต้องทำเมื่อเริ่มเล่นเกม Borderlands 3 ก็คือการเลือกตัวละครนักล่าสมบัติที่เราจะเล่น (จากทั้งหมด 4 ตัว) ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละตัวจะมาพร้อมกับความสามารถและจุดดี-จุดด้อยที่แตกต่างกันไป อย่างตัวละคร Amara ที่มาพร้อมกับความสามารถในการต่อสู้ระยะประชิดและการสร้างความเสียหายแบบ Elemental (ธาตุ) หรือ FL4K ที่สามารถใช้สัตว์เลี้ยงชนิดต่างๆ ควบคู่ไปกับความสามารถสายนักล่าอย่างการล่องหนเพื่อเพิ่มความเสียหายแบบ Critical Damage (ความเสียหายเมื่อยิงจุดอ่อนศัตรู) เป็นต้น แต่ในขณะที่เกมภาคเก่าๆ จะให้นักล่าสมบัติตัวหนึ่งมีความสามารถพิเศษเพียงอย่างเดียว เกมนี้จะทำให้นักล่าสมบัติแต่ละตัวมีความสามารถพิเศษให้เลือกใช้ถึงตัวละ 3 อย่าง เช่นตัวละคร Zane จะมีความสามารถในการเรียกหุ่นโดรนออกมาช่วยโจมตี หรือสร้างเกราะบาเรียเพื่อป้องกันเพื่อนในทีม หรือจะสร้างร่างแยกขึ้นมาหลอกศัตรูก็ได้ ทำให้นักล่าสมบัติแต่ละตัวมีแนวทางในการพัฒนาที่หลากหลายขึ้นกว่าภาคก่อนๆ มาก แถมเกมยังเปิดให้ผู้เล่นสามารถรีเซ็ตความสามารถของตัวละครเพื่อเปลี่ยนสายได้ตลอดเวลาด้วย (ใช้เงินในเกมเพียงน้อยนิด) ถือเป็นข้อปรับปรุงที่ใหญ่หลวงมากๆ สำหรับเกม เพราะการจะเล่นให้จบเนื้อเรื่องซักครั้งต้องใช้เวลาหลายสิบชั่วโมง ทำให้ผู้เล่นสามารถเปลี่ยนแนวการเล่นให้รู้สึกใหม่ได้ตลอดเวลาด้วย นอกจากระบบตัวละครที่พัฒนาแล้ว ยังมีเกมเพลย์การยิงปืนและเคลื่อนเบื้องต้นที่ถูกปรับให้ทันสมัยเทียบเท่ากับเกม FPS ยุคใหม่ด้วย โดยในจุดนี้ผู้เขียนยกให้เป็นข้อปรับปรุงที่ดีที่สุดในเกมภาคใหม่นี้เลย คนที่เคยเล่นเกม Borderlands ภาคเก่าๆ มาก่อนน่าจะรู้ดีว่าระบบการยิงปืนในเกมมักจะมีความลอยๆ หวิวๆ แปลกๆ เมื่อเทียบกับเกม FPS ทั่วไป ซึ่งเป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่งที่ทำให้แฟนๆ เกม FPS ไม่ค่อยชอบเกมภาคเก่าๆ นั่นเอง แต่ในภาคนี้ปัญหาเหล่านั้นได้หมดไปอย่างสิ้นเชิง ปืนทุกกระบอกให้ความรู้สึกเวลายิงที่ดี แม้ว่าความสามารถประจำตัวของปืนเหล่านั้นจะพิศดารแค่ไหนก็ยังรู้สึกดี มีการตอบสนองทุกครั้งที่ลั่นไก การเคลื่อนที่ของตัวละครแม้จะไม่ได้เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนเท่าการยิงปืน แต่ก็เพิ่มความสามารถอย่างการปีนป่ายและการสไลด์ ที่ทำให้การสำรวจแผนที่มีความง่ายและอิสระขึ้นมาเล็กน้อย ในส่วนของระบบปืนนั้น เกม Borderlands 3 ได้เคยโฆษณาเอาไว้อย่างภาคูภูมิว่าเกมจะมีปืนและระเบิดให้เลือกใช้กันได้นับพันล้านชนิด! ซึ่งต้องบอกเลยว่าไม่ได้พูดปากเปล่าแน่นอน จากการเล่นของผู้เขียน พบว่าแม้จะมีปืน/ระเบิดหลายกระบอกที่หน้าตาคล้ายๆ กัน หรือปรับเปลี่ยนแค่เพียงตัวเลขค่าสถานะ แต่ส่วนใหญ่เมื่อนำมาใช้ยิงจริงๆ กลับแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงไปเลย แถมหลายๆ กระบอกยังมีความสามารถกวนๆ อย่างปืนที่มีขางอกออกมาวิ่งไล่ยิงศัตรูด้วยตัวเอง หรือปืนที่จะเพิ่มความรุนแรงเมื่อเรายิงตูดศัตรู หรือกระทั่งปืนที่ยิงแล้วมีเสียงตัวร้ายคอยกวนเราตลอดเวลา ทำให้การได้ปืนใหม่ๆ ในเกมเป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นทุกครั้งแม้จะมีปืนผ่านมือกี่กระบอกก็ตาม โดยเฉพาะปืนระดับตำนานหรือ Legendary (สีเหลือง) ซึ่งมักจะมีความสามารถเพี้ยนๆ ฮาๆ ที่คาดไม่ถึงติดมาด้วยเสมอ สภาพแวดล้อมที่เพิ่มเข้ามาใหม่อีกมากมายก็มีส่วนช่วยทำให้เกมเพลย์หลากหลายขึ้นด้วย เพราะในแต่ละดาวที่เราไปเยือนตามเนื้อเรื่องมักจะมาพร้อมกับศัตรูชนิดใหม่ๆ อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งทำให้เราต้องวางแผนการต่อสู้และเปลี่ยนปืนใช้อยู่เสมๆ ด้วย ยกตัวอย่างเช่นเหล่าทหาร Maliwan ที่เราต้องเจอบนดาว Prometheus ซึ่งมักจะมีเกราะบาเรียติดตัว ทำให้เราต้องใช้อาวุธธาตุสายฟ้าเพื่อทำลายบาเรียซะก่อน หรือศัตรูจากดาว Eden-6 ที่มักจะมีเลือดเยอะ ทำให้เราต้องใช้ปืนธาตุไฟเพื่อลดเลือดเร็วๆ เป็นต้น ซึ่งจุดนี้ก็ช่วยเสริมระบบปืนอันหลากหลายได้ดี ทำให้ผู้เล่นมีเหตุผลในการหาปืนใหม่ๆ ใช้ตลอดเวลา ความหลากหลายของศัตรูจะเห็นได้ชัดที่สุดเมื่อสู้กับเหล่าบอสน้อยใหญ่ที่เราพบเจอได้ในเกม ที่มักจะมาพร้อมกับเทคนิคการเอาชนะที่แตกต่างกัน ทำให้ผู้เล่นต้องใช้การวางแผนแทนการดระโดดเข้าไปสาดกระสุนเฉยๆ เหมือนศัตรูทั่วไป ทำให้การสู้บอสทุกตัวมีความท้าทาย และทำหน้าที่เป็นช่วงขั้นระหว่างการบู๊แหลกได้เป็นอย่างดี องค์ประกอบสุดท้ายที่อยากพูดถึงคือเรื่องของการเล่นกับเพื่อนหรือโหมด Multiplayer ที่ปรับปรุงมาใหม่เช่นกัน โดยในภาคนี้ได้ใส่ระบบใหม่ที่สำคัญลงไปสองอย่างคือ Loot-Instancing และ Level-scaling โดยอันแรก (Loot-Instancing) นั้นจะทำให้ผู้เล่นทุกคนที่เล่นด้วยกันจะได้รับไอเทมเป็นของตัวเอง ตั้งแต่กระสุน หลอดเพิ่มเลือด ไปจนถึงปืนต่างๆ ที่เก็บได้ตามฉาก ทำให้ไม่จำเป็นต้องไปแย่งกันเองเหมือนภาคก่อนๆ อีกต่อไป (แต่ก็ยังปรับให้แย่งกันเหมือนภาคเก่าได้นะ) ส่วน Level-scaling จะทำให้ผู้เล่นทุกคนต่อสู้กับศัตรูตามเลเวลของตัวเอง เช่นถ้าตัวละครผู้เล่น A เลเวล 5 ก็จะสู้กับศัตรูเลเวล 5 ในขณะที่ผู้เล่น B ซึ่งเลเวล 20 ที่อยู่ในห้องเดียวกันจะเห็นศัตรูเป็นเลเวล 20 ทั้งหมด หมายความว่าผู้เล่นจะสามารถเข้าร่วมเล่นกับเพื่อนได้ตลอดไม่ว่าเลเวลจะห่างกันแค่ไหน โดยที่เกมจะยังคงมีความท้าทายเหมาะสมกับระดับของผู้เล่นคนนั้นๆ เองด้วย ถือเป็นระบบใหม่ที่น่าสนใจมากๆ เพราะจะหมดปัญหาเรื่องการนัดเวลาเล่นให้ตรงกันไปเลย ทำให้การเล่นกับเพื่อนง่ายกว่าทุกครั้ง เชื่อว่าระบบนี้น่าจะถูกนำไปปรับใช้กับเกมแบบ Multiplayer อื่นๆ อีกในอนาคต พูดมาถึงตรงนี้ คงต้องเอ่ยถึงข้อเสียของเกมซะบ้าง โดยข้อเสียหลักๆ ของเกม Borderlands 3 น่าจะเป็นเรื่องของการแลคหรือกระตุกซึ่งเกิดขึ้นบ่อยพอสมควร โดยเฉพาะเวลาเล่นออนไลน์กับเพื่อน ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้รุนแรงจนทำให้เล่นไม่ได้หรือไม่สนุก แต่ก็เป็นปัญหาที่มีมาตั้งแต่สมัย Borderlands 2 แล้ว และไม่ควรเกิดขึ้นแล้วในเกมที่ออกมาในช่วงนี้ การเลือกปรับให้เกมรันในโหมด Performance อาจจะช่วยตรงจุดนี้ได้บ้าง แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้ปัญหาตรงนี้หายไปเลยได้อยู่ดี ◊ สรุป ◊ แม้จะไม่ใช่เกมที่เพอร์เฟ๊ค แต่ Borderlands 3 ก็เป็นเกมที่เล่นสนุกมากๆ แทบจะตลอดเวลาที่ได้เล่น ด้วยเกมเพลย์ที่เรียบง่ายแต่เร้าใจ กราฟฟิคลายการ์ตูนสีสันสดใสที่แม้จะผ่านไปเป็นสิบๆ ชั่วโมงก็ยังน่ามองอยู่เสมอ และความหลากหลายของอาวุธปืนและระเบิดที่ทำให้รู้สึกตื่นเต้นตลอดเวลา ทำให้เกม Borderlands 3 สามารถทวงศักดิ์ศรีในฐานะผู้บุกเบิกแนวเกม Shooter-Looter ได้อย่างสมภาคภูมิ ใครที่ต้องการเกมที่เล่นสนุกๆ กับเพื่อนได้ยาวๆ ไม่ควรพลาด! ติดตามข่าวสารเกมต่างๆ ได้ที่       [penci_review id="29087"]
20 Sep 2019
ลองเล่นมาแล้ว! พรีวิว Final Fantasy VII Remake "การกลับมาอย่างสมศักดิ์ศรีของ RPG ในตำนาน"
ให้สาธยายกันสามวันสี่คืนก็ไม่จบจริงๆ กับอิทธิพลอันใหญ่หลวงที่เกม Final Fantasy VII มี ทั้งต่อเหล่าเกมเมอร์ที่เติบโตขึ้นในยุคค.ศ. 90 ตอนปลาย ไปจนถึงแนวเกม RPG และวงการเกมในภาพกว้าง ตั้งแต่การใช้กราฟฟิคแบบโพลิกอน 3D ทั้งเกมเป็นเกมแรกๆ ของยุค แนวทางการออกแบบศิล์ปที่ผสมผสานเทคโนโลยีไฮเทคเข้ากับความเป็นแฟนตาซีที่กลายเป็นเอกลักษณ์ของซีรี่ส์ Final Fantasy จวบจนทุกวันนี้ แถมยังเป็นเกมที่ยกระดับให้ค่ายเกมญี่ปุ่น Square Soft กลายเป็นค่ายเกมแนวหน้าที่รู้จักกันไปทั่วโลกแม้กระทั่งในตลาดตะวันตก แม้เวลาจะล่วงเลยมากว่า 20 ปีแล้วนับตั้งแต่ที่เกมวางจำหน่ายครั้งแรกในปี 1997 แต่เกม Final Fantasy VII ก็ยังคงเป็นเกม JRPG โปรดของผู้เล่นเกมหลายๆ คน ที่ยังคงยกให้เกมเป็นหนึ่งใน JRPG ที่ดีที่สุดที่เคยสร้างมาเลยทีเดียว ด้วยประการต่างๆ ที่ว่าไปข้างต้น ทำให้การมาถึงของเกม Final Fantasy VII Remake สร้างความตื่นเต้นและกังวลให้กับเหล่าแฟนเกมทั่วโลกไปพร้อมๆ กัน ในแง่หนึ่งก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเรื่องน่ายินดีที่เหล่าแฟนเกมรุ่นใหญ่จะได้หวนคืนสู่โลก Gaia และเหล่าตัวละครอันเป็นที่รักที่ถูกสร้างใหม่ด้วยกราฟฟิคอันสวยงามของเกมยุคปัจจุบัน แถมยังเป็นโอกาสอันดีที่เหล่าเกมเมอร์รุ่นเด็กๆ จะได้สัมผัสกับเกม RPG ระดับตำนานนี้เป็นครั้งแรกในรูปแบบที่เข้าถึงง่ายกว่าการหาเกมยุค PS1 กลับมาเล่นอีกด้วย แต่ในอีกแง่หนึ่ง ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าเกม Final Fantasy VII Remake ที่ผู้พัฒนาประกาศว่าจะเปลี่ยนแปลงระบบการเล่นอันเป็นหัวใจหลักไปอย่างสิ้นเชิง อาจจะทำให้แฟนๆ เกมที่ยังคงรักเกมภาคเก่าหัวปักหัวปำรู้สึกไม่ถูกใจกับการเปลี่ยนแปลงของเกมในดวงใจ และอาจจะแอบผิดหวังเล็กๆ กับระบบการเล่นใหม่ที่จะเข้ามาทดแทนการเล่นแบบคลาสสิคที่โหยหาจะได้สัมผัสอีกครั้ง ผู้เขียนได้มีโอกาสลองเล่นเกม Final Fantasy VII Remake ในงาน Tokyo Game Show 2019 ที่ผ่านมา (ขอขอบคุณ Square Enix และ PlayStation ที่จัดช่องเวลาเอาไว้ให้) โดยเดโมที่ได้ลองเล่นคือฉากการวางระเบิดเตาปฏิกรณ์ Mako ซึ่งมีคนบอกมาว่าคือฉากเปิดเกมภาคดั้งเดิม โดยเราจะสามารถควบคุมตัวละครได้สองตัวคือตัวเอก Cloud Strife และ Barret Wallace สลับไปมาระหว่างตัวละครทั้งสองได้ตลอดเวลา สิ่งแรกที่ผู้เล่นทุกคนน่าจะสังเกตคือภาพกราฟฟิคของเกม ที่ทำออกมาได้สมจริงคมชัดยิ่งกว่าเกมของ Square Enix หลายๆ เกมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเลยทีเดียว ตั้งแต่กราฟฟิคส่วนพื้นผิวของสิ่งของ ไปจนถึง Particle Effect แสงสีระยิบระยับตามฉาก ที่ทำออกมาได้อย่างปราณีต เปี่ยมไปด้วยรายละเอียดที่ยิ่งสังเกต ลงไปก็ยิ่งเห็นมากขึ้น เช่นเดียวกับอนิเมชั่นและสีหน้าของตัวละครต่างๆ ที่ใช้เทคโนโลยี Motion-Capture ทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายและใบหน้าของตัวละครมีความลื่นไหลสมจริงมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นองค์ประกอบที่สามารถเสริมอรรถรสในส่วนของเนื้อเรื่องเกมได้เป็นอย่างดี การเปลี่ยนมาใช้มุมมองแบบบุคคลที่สามก็ช่วยในการสร้างบรรยากาศของเกมได้อีกเช่นกัน เพราะผู้เล่นสามารถบังคับตัวละครให้สำรวจตามฉากเพื่อหาไอเทมได้อย่างอิสระ โดยมุมมองที่เปลี่ยนไปยังทำให้สถานที่ในฉากที่เคยเป็นเพียงภาพแบนๆ มีมิติขึ้นมา ช่วยสื่อถึงขนาดและ/หรือความตื้นลึกหนาบางของแต่ละสถานที่ได้ดีกว่าเดิม ทำให้ฉากที่หลายๆ คนอาจจะเคยเห็นมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วนมีชีวิตชีวาอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน [caption id="attachment_28612" align="aligncenter" width="1024"] ภาพเก่าเอามาเล่าใหม่ให้ใหญ่กว่าเดิม[/caption] ในส่วนของเกมเพลย์นั้น ระบบการเล่นของเกม Final Fantasy VII Remake จะผสมผสานการควบคุมแบบแอคชั่นเต็มรูปแบบเข้ากับระบบ ATB ที่พบเห็นได้ในเกม Final Fantasy หลายๆ ภาคที่ผ่านมา โดยการต่อสู้จะเน้นใช้การโจมตีธรรมดาเป็นคอมโบเพื่อเก็บเกจ ATB ของตัวละคร ซึ่งจะกลายมาเป็นทรัพยากรสำหรับใช้ท่า Ability ต่างๆ ของตัวละครอีกที ตัวแทนจาก Square Enix ได้อธิบายว่าเกมถูกออกแบบมาให้ผู้เล่นใช้การโจมตีธรรมดา (ปุ่มสี่เหลี่ยม) เพื่อเพิ่มเกจ ATB เป็นหลักมากกว่าเพื่อสร้างความเสียหาย และใช้ความสามารถพิเศษต่างๆ เพื่อปลิดชีพศัตรูอีกที ถ้าจะให้เปรียบความแอคชั่นของเกมกับเกมอื่นๆ ของผู้พัฒนา Square Enix อย่าง Final Fantasy XV หรือ Kingdom Hearts ผู้เขียนรู้สึกว่า FFVIIR (Final Fantasy VII Remake) น่าจะใกล้เคียงกับ Final Fantasy XV มากกว่า เพราะผู้เล่นก็ยังมีความสามารถในการกลิ้งหลบหรือป้องกันการโจมตีของศัตรูไม่ต่างกัน แต่ในขณะเดียวกัน FFVIIR ก็ยังมีความลื่นไหลมากกว่า Final Fantasy XV อยู่หน่อยจากอนิเมชั่นการโจมตีที่รวบรัดกว่า [caption id="attachment_28613" align="aligncenter" width="1024"] การต่อสู้แบบแอคชั่นที่ดุเดือดรวดเร็ว[/caption] นอกจากนี้ ผู้เล่นยังสามารถสลับไปมาระหว่างตัวละครเพื่อใช้ความสามารถเฉพาะตัวของตัวละครนั้นๆ ให้เข้ากับสถานการณ์ได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่นการเปลี่ยนเป็น Barret เพื่อใช้แขนปืนกลของเขากำจัดศัตรูที่อยู่ที่สูงที่ Cloud ใช้ดาบฟันไม่ถึงนั่นเอง น่าสนใจว่าตัวละครร่วมทีมอื่นๆ จะมีความสามารถเฉพาะตัวแตกต่างกันแค่ไหน แต่อาจจะด้วยความที่เดโมถูกปรับให้ง่าย หรืออาจจะเพราะเป็นส่วนเริ่มต้นของเกมก็ดี ผู้เขียนกลับรู้สึกว่าแทบไม่ได้จำเป็นต้องใช้ท่าพิเศษหรือใช้การวางแผนใดๆ ก็สามารถกำจัดศัตรูธรรมดาๆ อย่างทหารชินระหรือหุ่นโดรนตัวเล็กๆ ตามฉาก ได้แบบไม่มีปัญหาด้วยการกดปุ่มโจมตีซ้ำๆ เฉยๆ ทำให้ยังไม่ค่อยเห็นภาพนักว่าถ้าเกมเริ่มเพิ่มลูกเล่นต่างๆ มากขึ้น (เช่นมนต์ซัมม่อน หรือแค่เพียงเพิ่มตัวละครในปาร์ตี้อีกซักตัวสองตัว) จะทำให้เกมเพลย์ท้าทายมากกว่านี้แค่ไหน แต่โดยเบื้องต้นนั้นถือว่าเกมเพลย์ของ FFVIIR สอบผ่านในแง่ของความรู้สึกอันลื่นไหลเป็นธรรมชาติ แม้ว่าจะยังไม่ได้ต้องใช้ความคิดหรือฝีมือนักในเดโม นอกจากนี้ เกมยังมีระบบการ Stagger คล้ายๆ กับในเกม Final Fantasy XV ที่เมื่อโจมตีศัตรูจนล้ม (สังเกตได้จากหลอดสีส้มๆ ใต้หลอดเลือด) จะทำให้ศัตรูติดสถานะ Stagger ส่งผลให้โดนความเสียหายแรงขึ้น ซึ่งการเล่นในส่วนหลังๆ น่าจะมีความสำคัญขึ้นมา แต่ในเดโมที่ผู้เขียนเล่นยังไม่ได้จำเป็นเท่าไหร่นัก [caption id="attachment_28617" align="aligncenter" width="1024"] ท่า Triple Slash สุดคลาสสิค[/caption] ส่วนเดียวของเดโมที่ทำให้ผู้เขียนต้องใช้การวางแผนซักหน่อยก็คือส่วนของบอสหุ่นยนต์แมลงป่องช่วงท้ายเดโม ที่จะคอยยิงจรวดติดตามใส่เราตลอดเวลาทำให้ต้องคอยหยุดโจมตีและหันมาป้องกันหรือกลิ้งหลบบ้าง และยังสามารถเปิดเกราะบาเรียที่ต้องใช้เวทย์สายฟ้า Thunder ของ Barret ใส่เพื่อลบออกก่อนจะโจมตีได้ แถมพอเลือดเหลือน้อยยังสามารถยิงปืนใหญ่เลเซอร์ใส่เราได้อีก ทำให้ผู้เล่นต้องวิ่งไปหลบหลังสิ่งกีดขวางตามฉากเพื่อไม่ให้โดนเลเซอร์ ซึ่งในจุดนี้ก็ทำให้เห็นภาพมากขึ้นว่าระบบต่อสู้ของเกมจะท้าทายผู้เล่นอย่างไรบ้าง [caption id="attachment_28618" align="aligncenter" width="768"] ลุง Barret หล่อกว่าเดิมเยอะเลย[/caption] อีกหนึ่งองค์ประกอบของระบบต่อสู้ที่น่าพูดถึงคือระบบ Tactical Mode ที่จะชะลอการเคลื่อนไหวทั้งหมดในจอเพื่อให้ผู้เล่นสามารถเลือกใช้ไอเทม สกิล หรือกระทั่งท่าสุดยอดอย่าง Limit Break จากเมนูเหมือนเกม RPG ทั่วไปได้ และสามารถใช้สั่งเพื่อนร่วมทีม A.I. ให้ทำนู่นทำนี่ได้ด้วย (ลองนึกภาพเกมเพลย์ของ Dragon Age: Inquisition แต่ไม่ลึกเท่า) ซึ่งในจุดนี้ผู้เขียนยังไม่รู้สึกถึงความจำเป็นในการใช้ระบบนี้เท่าไหร่นักในเดโมเพราะทุกอย่างรวมถึงบอสสามารถรับมือได้ด้วยการโจมตีธรรมดาๆ หรือการใช้ปุ่มลัดโดยการกด L1 ค้างและกดปุ่มสัญลักษณ์เพื่อใช้สกิลเหมือนเกมแอคชั่น แต่ก็พอจินตนาการได้ว่าถ้าเริ่มเจอศัตรูระดับสูงที่มีจุดอ่อนที่ซับซ้อนกว่านี้ ก็อาจจะกลายเป็นระบบที่จำเป็นมากก็ได้เช่นกัน [caption id="attachment_28619" align="aligncenter" width="768"] เมื่อเข้า Tactical Mode จะทำให้ทุกอย่างเคลื่อนไหวช้าลง และจะมีเมนูขึ้นมาตรงมุมซ้ายล่าง[/caption] ต้องยอมรับตรงๆ ว่าผู้เขียนไม่ใช่คนที่ตื่นเต้นกับเกม Final Fantasy VII Remake มากเท่ากับคนอื่นๆ ที่เป็นแฟนตัวยงของเกม แต่เสี้ยวเดโมที่ได้เล่นก็สนุกและน่าสนใจมากพอที่จะทำให้ผู้เขียนอยากจะเล่นและสำรวจเกมๆ นี้ต่อไปอีกยาวๆ เลยทีเดียว Final Fantasy VII Remake มีกำหนดวางจำหน่ายวันที่ 3 มีนาคม 2020 สำหรับเครื่อง PS4 โดยเฉพาะ ติดตามข่าวสารเกมต่างๆ ได้ที่
13 Sep 2019
ปู่นินใจป้ำ! เสนอซ่อม Joy-Con ที่มีปัญหาฟรี คนที่เคยซ่อมแล้วรับเงินคืนได้!
แม้ว่าผู้เล่นส่วนใหญ่ดูจะพอใจกับคุณภาพของเครื่อง Nintendo Switch กันจนคอนโซลสามารถทำสถิติยอดขายในหลายตลาดทั่วโลก แต่ก็มีผู้เล่นจำนวนไม่น้อยที่ต้องประสบปัญหากับอุปกรณ์ Joy-Con ของตน ที่ตัวแกนอนาล๊อคเกิดค้างหรือที่เรียกว่า Joy-Con Drift นั่นเอง ล่าสุด ดูเหมือนว่าผู้ที่กำลังปวดหัวกับปัญหา Joy-Con Drift อาจจะมีข่าวดีให้ได้ดีใจกันแล้ว เมื่อมีการเปิดเผยเอกสารภายในของบริษัท Nintendo ที่ระบุว่าบริษัทจะรับซ่อมอุปกรณ์ Joy-Con ที่มีปัญหาดังกล่าวแบบฟรีๆ โดยที่ผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องแสดงหลักฐานการซื้อ (ใบเสร็จหรือบิลอะไนทำนองนั้น) และไม่ต้องมีประกันเครื่องอีกด้วย! สำหรับคนที่เคยจ่ายตังค่าซ่อมไปแล้วไม่ต้องเสียใจ เพราะปู่นินยังรับปากด้วยว่าจะทำการคืนเงินให้ผู้ที่เคยส่งซ่อมอุปกรณ์ Joy-Con มาก่อน ขอแค่ผู้เล่นส่งคำร้องเพื่อรับเงินคืนเข้าไปทางศูนย์บริการลูกค้าของบริษัท ปัญหา Joy-Con Drift ถือเป็นหนึ่งในจุดบกพร่องที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในเครื่อง Nintendo Switch โดยต้นตอของปัญหาดังกล่าวยังไม่แน่ชัดว่ามาจากไหน มีผู้เล่นบางคนสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นปัญหามาจากการที่ฝุ่นเข้าไปติดในแกนอนาล๊อค ในขณะที่บางคนก็โทษปัญหาในขั้นตอนการผลิต ทั้งนี้ ข่าวนี้ยังเป็นเพียงข้อมูลที่หลุดออกมาจากเอกสารภายในบริษัทเท่านั้น โดยทางนินเทนโด้ยังไม่ได้ออกมาประกาศการรับซ่อมอย่างเป็นทางการในขณะนี้ แต่เมื่อพิจารณาว่าค่ายกำลังอยู่ในระหว่างการถูกฟ้องร้องจากปัญหา Joy-Con Drift นี้แล้วก็คงไม่น่าแปลกใจถ้าค่ายจะมีมาตรการแก้ไขที่หนักแน่นแบบนี้เช่นกัน อ้างอิง: https://gamerant.com/nintendo-fix-switch-joy-cons-drift-free/  
25 Jul 2019